รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home กลยุทธ์สรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี
รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บัญชี จดทะเบียนบริษัท ตรวจสอบบัญชี ปทุมธานี ยื่นภาษี ทำประกันสังคม วีซ่า
กลยุทธ์สรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี PDF พิมพ์ อีเมล

โดยทั่วไปถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการถูกต้อง โอกาสถูกตรวจสอบหรือถูกประเมินภาษีอากรก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่ในความเป็นจริง สถานะการเงินการคลังของประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรมุ่งจะตรวจสอบผู้ประกอบการที่ประกอบถูกต้อง เพราะอาจพบ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อม เพราะแม้หากจะมีการตรวจ หรือประเมินภาษีอากรแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถเจรจากับเจ้าพนักงานได้ และหากถูกประเมิน ก็สามารถอุทรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์หรือต่อศาล เพื่อให้คำอุทรณ์ของตนได้รับชัยชนะถึงที่สุด


1. ผู้ประกอบการควรจะจัดทำบัญชี รววทั้งการยื่นแบบเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยจะต้องดูให้ถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาด เพราะการยื่นแบบ หรือการทำบัญชีที่ผิดพลาดนั้น จะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สงสัย และเริ่มให้มีการตรวจสอบผู้เสียภาษีอากรนั้นเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ อาทิเช่น ในกรณีที่เป็นบริษัท ต้องดูว่าแบบที่ยื่น โดยเฉพาะการหักค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้าม หรือมีปัญหา ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องดูว่า ค่าใช้จ่ายที่หักนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินอัตราที่กฏหมายกำหนด การทำบัญชีหรือยื่นแบบควรเป็นหน้าที่ของ นักบัญชี และนักกฏหมาย ผู้มีความชำนาญในเรื่องภาษีอากรโดยเฉพาะ


2. หากจะต้องมีการขอคืนภาษี หัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือภาษีซื้อของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นผู้ประกอบการต้องมั่นใจว่า จำนวนเงินที่ขอคืนภาษีกับผลกระทบที่อาจจะได้รับในการตรวจสอบภาษีนั้น จะคุ้มกัน เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากการขอคืนภาษี กรมสรรพากรก็อาจจะมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ประกอบการและอาจจะพบว่าผู้เสียภาษีเสียภาษีไม่ถูกต้องในหลายรายการ จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก และปัจจุบันกรมสรรพากรก็ได้ระบุในแบบยื่นเสียภาษีให้บริษัทขอคืนภาษีเลย เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเสียภาษีให้ถูกค้อง เพราะอาจถูกตรวจสอบจากการขอคืน


3. เมื่อมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมาควรต้องพิจารณาดูว่าหมายเรียกหรือหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือการประเมินนั้น ถูกส่งโดยชอยด้วยหรือไม่ เพราะกฏหมายบังคับให้ส่งโดยลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้าพนักงานไปส่งในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกในเวลาทำงาน หรือจะส่งให้แก่บุคคลใดที่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะก็ได้ และตามกฏหมายนั้น ถ้าหากส่งไม่ได้นั้น กรมสรรพากรมีอำนาจที่จะใช้วิธีปิดเพราะฉะนั้น การถือว่าได้รับ หรือไม่ได้รับนั้นจึงมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากว่ามีส่วนที่เกี่ยเนื่องกับระยะเวลาการอุทธรณ์ และการดำเนินคดีด้วย


4. ผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับหมายเรียกต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ โดยอาจขอเวลาจัดเตรียมเอกสารและให้ความร่วมมือ ในการให้ข้อเท็จจริง และปากคำอย่างเต็มที่ โดยจัดส่งเอกสารพร้อมเก็บหลักฐาน ในการนำส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานที่ออกหมายเรียก รวมทั้งคำให้การทั้งหมด โดยต้องปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำเอกสารนั้นๆ เพราะว่าข้อเท็จจริงนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่ง ถ้าหากมีการประเมินภาษี ผู้ถูกประเมินจะได้นำข้อต่อสู้ดังกล่าวนั้น มาใช้ในการอุทธรณ์ ทั้งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และชั้นศาล ข้อสำคัญคือหากไม่ให้ความร่วมมือ และจะถูกประเมินภาษีแล้ว ก็อาจจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามกฏหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ยอมตอบข้อคำถาม หรือว่าซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่ยอมปฏิบัติตามกฏหมาย โดยคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน


บทความน่ารู้อื่นๆ

 
Joomla SEO powered by JoomSEF