ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ยังคงต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร |
|
|
|
ประเภทผู้เสียภาษี
|
การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
|
กำหนดเวลา
|
แบบคำร้อง
|
สถานที่ยื่นคำร้อง
|
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(1) กรณีไม่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น คนต่างด้าว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่ง(2) กรณีบุคคลธรรมดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ(3) กรณีเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2546
|
ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมิน
|
(1) บุคคลธรรมดาใช้แบบ ล.ป.10.1
(2) คณะบุคคลใช้แบบ ล.ป.10.2
|
ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่
ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่กรณีผู้เสียภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สะดวกที่จะยื่นคำร้อง ณ สถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ของจังหวัดที่มีภูมิลำเนาอยู่หรือ จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครก็ได้
|
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทยหรือ วันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มประกอบกิจการ ในประเทศไทย
|
แบบ ล.ป.10.3
|
ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ กรณีเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่สามารถยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ได้อีกแห่งหนึ่ง
|
3. ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้
|
ภายใน 60 วัน ก่อนวันจ่ายเงินได้
|
แบบ ล.ป.10.4
|
ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่หรือที่สำนักงานของผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่
ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่หรือที่สำนักงานของผู้จ่ายเงินได้ตั้งอยู่
|
ที่มา : กรมสรรพากร
เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป
กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการแต่ละแห่งในสถานที่ที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย
กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 เมษายน 2011 เวลา 21:29 น. |