รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home ห้องสนทนา กระทู้ล่าสุด
 กระดานสนทนา
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 ถัดไป > สุดท้าย >>
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 15-08-2011 21:12:07 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ให้เข้าไปดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป .101/2544ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544 การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 กับผู้รับในกรณีนี้ โดยถือว่าเป็นค่าตอบแทนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าตอบแทนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่จะหัก 10 เปอร์เซ็นต์ตามอัตราก้าวหน้าไม่ได้นะค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 15-08-2011 09:54:59 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

อย่ารู้ว่าถ้าเราจะหัก ณ ที่จ่าย ค่าโปรแกรมพิมพ์เช็ค จะหักกี่เปอร์ ใช้สิทธิ์หักตามาตราอะไรค่ะ แล้วถ้าเราจะหักตามอัตราก้าวได้รึป่าว อย่างไร
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 02-08-2011 17:17:33 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

บริษัทที่จ้างเราไม่มีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเรานะค่ะ เพราะเนื่องจากโรงเรียนที่ได้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด เพราะฉนั้น หน่วยงานใหนก็ตามไม่มีสิทธิ์หัก ณ ที่จ่ายเราค่ะ แต่ถ้าเราจ่ายเงินคนอื่น เป็นค่า บริการ ค่าจ้าง ฯ เราต้องหัก ณ ที่จ่ายเขานะค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 29-07-2011 20:49:59 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ในกรณีได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอนหนังสือ/กวด วิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ตามมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แล้วมีบริษัทจ้างโรงเรียนให้สอนภาษากับพนักงาน ต้องโดนหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% มั้ยคะ เพราะว่าเราได้รับการยกเว้นภาษีใช่มั้ยคะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ.. 20-07-2011 08:22:15 
นายสิทธิชัย โสภา

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ

คือก่อนๆทำงานเป็นลูกจ้างประเภทจ้างเหมารายเดือนรายได้ต่อปีก็ประมาณ 50,000 บาท/ปี ช่วงปีแรก ปัจจุบันผมเป็นลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานของรัฐครับ พอสิ้นปีเขาก็จะออกหนังสือการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ รายได้ต่อปีก็ประมาณ 85,000 บาท/ปี พอดีเมื่อวานมาศึกษาเรื่องนี้อีกทีดูเหมือนมันจะเข้าเกณฑ์ช่วงเงินระหว่างไม่เกิน 150,000 ในประเภทที่หนึ่ง เงินได้สุทธิไม่เกิน  150,000 บาท  ยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษีเนี่ยคือหมายความว่ายังไงเหรอครับ แต่ก็คงยังต้องเสียภาษีอยู่เหมือนเดิมใช่หรือไม่ครับ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ.. 20-07-2011 00:36:14 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ

คือมีรายได้ และตอนได้รับเงินโดนลูกค้าหัก ณ ที่จ่ายไว้ใช่มั้ยค่ะ นั่นถือเป็นการเสียภาษีเงินได้ล่วงหน้านะค่ะ ตอนสิ้นปี ต้องมาสรุปยอดเพื่อยอดกรมสรรพากรอีกทีว่าที่จ่ายล่วงหน้าไปในแต่ละครั้งที่จ่ายเงินนั้น สรุปแล้วตอนสิ้นปี เราต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือ ได้รับคืนภาษีจากรัฐบาล (ตอนนี้เข้าใจตรงเรื่องนี้แล้วนะค่ะ) ที่สงสัยคือ แล้ว 3-4 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ยื่น ภาษีตอนสิ้นปีเลย จะต้องทำยังงัยใช่มั้ยค่ะ แนะนำเลยนะค่ะ ตอนเราโดนหัก ณ ที่จ่ายไว้นั้น เราจะได้รับหนังสือรับรองจากลูกค้าของเราตลอดใช่มั้ยค่ะ ให้นำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายนั้นมาคำนวณดูนะค่ะ ว่าในแต่ละปีเราเสียภาษีล่วงหน้าไปแล้วเท่าไหร่ เอาทุกใบในแต่ปีมารวมกันนะค่ะ(แยกเป็นปีๆ) แล้วนำไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรช่วยคำนวณให้ก็ได้ค่ะ ว่าในแต่ละปี เราต้องเสียภาษี หรือได้คืนภาษีเท่าไหร่(เหตุที่สุให้ทำย้อนหลังก็เพราะว่า เราน่าจะได้คืนภาษีมากกว่าเสียภาษีนะค่ะ)เมื่อเจ้าหน้าที่คำนวณให้แล้วถ้าได้คืนภาษีก็ให้ยื่นเลย เสียเบี้ยปรับปี ละ 200 บาท(แต่ถ้าได้คืนภาษีกลับมาก็คุ้มนะค่ะ แถมยังสบายใจด้วย) แต่ถ้าคำนวณออกมาแล้วต้องเสียภาษี ให้บอกเจ้าหน้าที่ว่าขอแบบกลับมาก่อน ค่อยมาจ่ายทีหลัง แล้วมานั่งปรึกษากันอีกทีนะค่ะว่าจะ ยื่นแค่ปี ปัจจุบัน ดีหรือเปล่า เพราะนโยบายของกรมสรรพากรให้ตรวจสอบปีปัจจุบันให้ทำให้ถูกต้องส่วนปีก่อนให้อนุโลมเท่าที่จะทำได้ สองวิธีนี้นะค่ะ และถ้ามีประเด็นอื่นอีกโทรถามสุได้เลยนะค่ะ ยินดีช่วยเหลือค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ.. 19-07-2011 14:26:46 
นายสิทธิชัย โสภา

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : เข้าใจผิดคิดว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษี แต่ที่จริงไม่ใช่แล้วทีนี้เราจะต้องทำยังไงครับ

พอดีคิดว่าการหักภาษ ณ ที่จ่ายเป็นการเสียภาษี แล้วไม่ได้ยื่นแบบเสียภาษีมา 3-4 ปีแล้ว ต้องทำยังไงบ้างครับเป็นกังวลมากกับเรื่องนี้ช่วยชี้แนวทางด้วยครับว่าจะต้องปฏิบัติยังไง
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:การตั้งเงินสำรองตามกฎหมาย.. 06-07-2011 16:58:48 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : การตั้งเงินสำรองตามกฎหมาย

ข้อที่ 1 ตอบได้เลยค่ะ ไม่ได้ผิดกฏหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลมาตรา 1202 ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุน สำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไร ซึ่งบริษัททำมาหาได้จาก กิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุน ของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท ข้อที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1202 กำหนดให้ทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบ (ร้อยละ 5) ของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้ จนกว่าจำนวนทุนสำรองจะมีจำนวนถึงหนึ่ง ในสิบ (ร้อยละ 10) ของจำนวนทุนของบริษัท ดังนั้น ทุกครั้งที่บริษัทจ่ายปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ (Net profit) จนกระทั่งจำนวนทุนสำรองมีจำนวนถึงร้อยละ 10 ของจำนวนทุนของบริษัท
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :การตั้งเงินสำรองตามกฎหมาย.. 04-07-2011 09:34:56 
มนัสชนก
ลงทะเบียนเมื่อ: 04-07-2011 09:27:32
ตอบ: 1
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : การตั้งเงินสำรองตามกฎหมาย

อยากทราบว่าหากจ่ายเงินปันผลโดยไม่ตั้งเงินสำรองตามกฎหมายได้หรือไม่ค่ะ และการตั้งเงินสำรองตามกฎหมายควรจะจัดตั้งอย่างไรค่ะ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 02-07-2011 08:33:33 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

     ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอนหนังสือ/กวด วิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป หรือไม่ค่ะ ถ้าได้รับอนุญาตแล้วผู้เรียนต้องลงทะเบียนและเรียนในสถานที่ของโรงเรียนศูนย์เรา ตามมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ให้ถือว่าโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 เป็นโรงเรียนตามพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ ดังนั้น เงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ เฉพาะที่เป็นเงินได้ค่าเล่าเรียนที่ได้รับจากนักเรียน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้าง ทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนราษฎร์ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน จึงได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 และรายรับที่ได้ จากการประกอบกิจการดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร

สรุปคือ ถ้าเข้าเกณฑ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้อื่นจะมาหัก ณ ที่จ่ายไม่ได้ค่ะ (แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวนะค่ะ)

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 01-07-2011 13:50:45 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อเปิดเป็นโรงเรียนสอนหนังสือจพถูกหัก๓ษี ณ ที่จ่าย หรือเปล่าค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 28-06-2011 07:28:23 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ภาษี  ตัวที่เราต้องเจอคือ

1.ภาษีเงินได้ หัก  ณ ที่จ่ายที่เราโดนไปแล้ว   4740  บาท

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%    ถ้าเรา จดภาษีมูลค่าเพิ่ม   ยอดเงิน   11060   บาท (ถ้าไม่จดไม่ต้องจ่าย

3.ภาษีเงินได้ นิติบุคคลตอนสิ้นปี  ( คิดจากรายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่ายทั้งปี  ) - 150,000  เท่ากับเท่าไหร่ x 15%

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 27-06-2011 11:14:14 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ขอบคะที่ตอบ เราได้งาน 158,000 บาท โดนหัก ณ ที่จ่าย 4740 บาท แล้วเราจะโดนหักภาษีอะไรอีกบ้างคะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 21-06-2011 20:40:00 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

หมายถึงจดทะเบียนพาณิชย์เสร็จแล้ว แล้วไปได้งาน มูลค่างาน 158,000 บาท เราจะต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายตอนได้รับเงิน เราจะต้องโดนเขาหัก ณ ที่จ่ายนะค่ะ ยอดที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย คือ 4740 บาท ค่ะ ทำให้ได้รับเงินจริงแค่ 153,260 บาท นี่คือด้านรับนะค่ะ ส่วนด้านค่าใช้จ่ายงานรับเหมาต้นทุนหลัก คือ ค่าแรงกับ ค่าของ ถ้าเราจ่ายค่าแรง พนักงาน เราต้องหัก ณ ที่จ่ายเขา 3 เปอร์เซ็นต์เหมือนกันนะค่ะ สมมตจ้างคนงาน ยอด 100000 บาท ต้องจ่ายพนักงานแค่ 97,000 บาท นะค่ะ ต้องหัก เขาไว้ 3000 บาท ค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 18-06-2011 15:03:37 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

สมมุติว่าเราไปจดทะเบียนพานิชย์แล้วไปรับเหมา 158,000 บาท เราต้องจ่ายภาษีอะไรมั่ง ช่วยตอบด้วยนะคะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:อยากทราบว่าบิลค่าโทรศัพท์ จะต้องยื่นภาษีซื้อหรือไม.. 24-05-2011 22:04:44 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : อยากทราบว่าบิลค่าโทรศัพท์ จะต้องยื่นภาษีซื้อหรือไม

ค่าโทรศัพท์  เป็นค่าใข้จ่ายที่ต้องใช้ในการประกอบธุรกิจ จริง  (สามารถอธิบายได้ว่าใครเป็นผู้ใช้ และเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจยังงัย) สามารถใช้เครม ภาษี ได้ 100  เปอร์เซ็นต์ค่ะ แต่ต้องถูกต้อง ตามหลักประมวลรัษฏากรดังต่อไปนี้ค่ะ

1.ใบกำกับภาษี ต้องระบุชื่อบริษัท และที่อยู่ของบริษัท อย่างชัดเจนถูกต้อง

2.ต้อง หัก  ณ ที่จ่าย อย่างถุกต้อง และนำส่งให้ถูกต้อง

3.ไม่ใช้ในเรื่องส่วนตัว(ตัวนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าอีกทีนะค่ะ)

 

สรุปคือ ถ้าอยากค่าให้โทรศัพท์ ใช้ เครมเวทได้ ก็ให้ทำตามข้อ 1 และข้อ 2 ก่อน ส่วนข้อ 3 มันจะต้องชี้แจงเมื่อโดนตรวจสอบเท่านั้นค่ะ

IP Logged
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 24-05-2011 22:06:02 โดย สุณิษาเรืองหิรัญ ด้วยเหตุผล
 หัวข้อกระทู้ :อยากทราบว่าบิลค่าโทรศัพท์ จะต้องยื่นภาษีซื้อหรือไม.. 24-05-2011 14:39:17 
มิ้นจัง

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : อยากทราบว่าบิลค่าโทรศัพท์ จะต้องยื่นภาษีซื้อหรือไม

อยากทราบว่า บิลค่าโทรศัพท์ ต้องนำยื่นภาษี ภพ.30 หรือไม่ค่ะ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า.. 08-05-2011 12:24:25 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า

อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี
                     สำนักงานเรืองหิรัญคลังบัญชีและภาษีอากร
                                          
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ค่าปรับอาญา  (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
    - ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน  300 บาท
    - ยื่นแบบเกิน      7 วัน  500 บาท
2. เงินเพิ่มชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน  ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับการเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้ 2 กรณี คือกรณียิ่นแบบเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) กับ กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา

 

เบี้ยปรับ

กรณียื่นเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา

 

กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา

 

ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน

 

ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 2%

ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 2%

ยื่นแบบไม่เกิน 30 วัน

 

ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 5%

ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 5%

ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน

 

ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 10%

ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 10%

ยื่นแบบเกิน 60 วันขึ้นไป

ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 20%

ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 20%


4. การนับวัน กรณียื่นแบบเพิ่มเติมและไม่ได้ยื่นแบบ ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเดือนก่อน (หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันที่ 15 ก็ได้ กรณีที่วันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันสุดท้ายของการยื่นแบบก็จะเป็นวันที่ 17
ตัวอย่าง  ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 15 ของเดือนก่อนและเป็นเดือนที่มีวัน 31 วัน วันครบกำหนดชำระภาษี ถ้าต้องการชำระภายใน 30 วัน จะตรงกับวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และถ้าวันที่ 14 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องไปชำระก่อน คือชำระในวันที่ 13 ถ้าไปชำระหลังวันที่ 14 จำนวนวันก็จะเกิน 30 วัน ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสีย ขยับจาก 5% ไปเป็น 10% แทน
อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 17 (บังเอิญเดือนก่อนวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนมาจ่ายวันจันทร์แทน) และเป็นเดือนที่มีวัน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 30 วัน จะต้องชำระภายในวันที่ 17 ของเดือนถัดไป

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3, 53)
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
    - ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน  100 บาท
    - ยื่นแบบเกิน      7 วัน  200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน

เงินสมทบประกันสังคม
   - ขั้นต่ำ  1,650  X  5%      =   83  บาท/เดือน
   - ขั้นสูง  15,000 X  5%    =  750  บาท/เดือน
เบี้ยปรับ ชำระในอัตรา 2% ต่อเดือน

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 กรณียื่นแบบ ภงด.90 ภงด.91 เกินกำหนดเวลา
  ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 กรณียื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา
  ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
 กรณียื่นแบบ ภงด.50 เกินกำหนดเวลา
  ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท
  เงินเพิ่มอีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กรมพัฒนาธุรกิจ
การยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับคือ ในส่วนของกรมสรรพากร กับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ลองมาดูในส่วนของกรมสรรพากรกันก่อน คุณต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท เค้าใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาทนะครับ แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วัน ค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ผมแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดูตารางค่าปรับหน้าสุดท้าย) การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรมการอีก 600 บาท


คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
2. บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ เช่น 1. ประชุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 30 เมษายน ของเดือนถัดไป 2. ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป

รายละเอียดคำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
1.  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย  และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร  ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี   ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
2.  บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด  ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง  แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่  โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน     4  เดือน  นับแต่วันปิดบัญชี  ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี  จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30  เมษายน ของปีถัดไป  มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
 งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว  จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่  เช่น
1. ประชุมเมื่อวันที่  31  มีนาคม  จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่  30  เมษายน ของเดือนถัดไป
2. ประชุมเมื่อวันที่  20  เมษายน  จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่  20  พฤษภาคม ของเดือนถัดไป

              ***** คำเตือน ***** 
1.   เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว  ขอให้นิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดรีบดำเนินการจัดส่งงบการเงินก่อนเดือนพฤษภาคม  หากนำมายื่นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมอาจมีปัญหาไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วเท่าที่ควร
2.   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะไม่รับฝากงบการเงินที่ยื่นครั้งละจำนวนมากของสำนักบริการรับทำบัญชีอีกต่อไป
3.   ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้าเกินกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน  50,000  บาท  และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน  50,000  บาทด้วย  ทั้งนี้  กรมได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะเวลาที่ยื่นงบการเงิน  หากยื่นงบการเงินล่าช้าอัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น

  

                               ตารางอัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้า


สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป


1.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ทุกประเภทยกเว้นกิจการร่วมค้า

600

600

1,200

2

กิจการร่วมค้า

600

-

600


2.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

1,200

1,200

2,400

2

บริษัทจำกัด

2,400

2,400

4,800

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

6,000

6,000

12,000

4

บริษัทมหาชนจำกัด

12,000

12,000

24,000

5

กิจการร่วมค้า

6,000

-

6,000


3.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

2,400

2,400

4,800

2

บริษัทจำกัด

4,800

4,800

9,600

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

12,000

12,000

24,000

4

บริษัทมหาชนจำกัด

24,000

24,000

48,000

5

กิจการร่วมค้า

12,000

-

12,000


4.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน

 

ลำดับที่

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

3,600

3,600

7,200

2

บริษัทจำกัด

6,000

6,000

12,000

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

18,000

18,000

36,000

4

บริษัทมหาชนจำกัด

36,000

36,000

72,000

5

กิจการร่วมค้า

18,000

-

18,000


 

IP Logged
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 13-05-2011 22:39:22 โดย สุณิษาเรืองหิรัญ ด้วยเหตุผล
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 07-05-2011 18:08:15 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ปกติประมวลรัษฏากรกำหนดให้ หัก ณ ที่จ่าย ค่าบริการ ไว้ 3 เปอร์เซ็น  แต่ถ้าหักเกินถามว่ามีความผิดหรือไม ให้วิเคราะห์ข้อมูล 2 ข้อนี้ก่อนนะค่ะ

        1.ต้องดูว่า ผู้ที่เราจ่ายให้นั้นเป็นใคร เป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องชี้แจงให้ได้ว่า ค่าบริการที่เราจ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินวงเล็บสองจึงจะมีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่าย  10 เปอร์เซ็นได้ (เพราะอ้างอิงการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามอัตราก้าวหน้า)ซึ่งไม่ นิยมทำเพราะ ยากที่จะรู้ว่าคนนั้นๆ มีรายได้เท่าไรในปีนั้นๆ

         2.ถ้าบุคคลที่เราจ่ายให้เป็น นิติบุคคล ให้หัก 3 เปอร์เซ็นอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับค่าบริการ เพราะประมวลรัษฏากรเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว

    สรุป     

          ถ้าข้อ   1 ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ภาษีเงินได้พึงประเมิน(2) 

          หรือข้อ 2 ผู้รับเงินเป็นนิติบุคลแล้ว

     ไปหัก ณ ที่จ่าย ไว้ 10 เปอร์เซ็น   มีความผิดแน่นอน  ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่สรรพากรแล้วนะค่ะ ว่า จะหยิบประเด็นนี้มาตรวจหรือเปล่า เพราะกรณีย์นี้ สรรพากรได้ผลประโยชน์  เหมือนการจ่ายภาษีล่วงหน้าไว้เกิน ถึงจะตรวจสอบก็ไม่มีเรื่องของค่าปรับใดๆ อย่างมากก็แค่ยื่นแบบปรับปรุงค่ะ แต่ถ้าสรรพากรเรียกตรวจแล้วไม่มีค่าปรับตรงส่วนนี้ ก็คงต้องตรวจส่วนอื่นต่อจนได้ เพราะฉนั้นไม่ควรทำให้เป็นประเด็นให้สรรพากรเข้าตรวจจะดีกว่านะค่ะ  

 

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 06-05-2011 16:06:48 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ค่าบริการ ปกติจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แต่เราจะหัก 10% ได้หรือไม่
IP Logged
หน้า #  << เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 ถัดไป > สุดท้าย >>


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF