รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home ห้องสนทนา กระทู้ล่าสุด
 กระดานสนทนา
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 ถัดไป > สุดท้าย >>
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 05-11-2011 10:37:32 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

การจ่ายค่าคอม และค่าเซอร์วิสชาร์ต นำคำนวณและจ่ายพร้อมกัน รวมกับเงินเดือน ให้เรียบร้อยนะค่ะ (ถ้าเขาเป็นพนักงานที่รับเงินเดือนจากเรา) และจำต้องนำมารวมยื่น ภงด.1 ด้วยค่ะ จะแตกต่างกับ การจ่ายค่าคอมฯ ให้กับบุคคลภายนอกที่ให้หัก ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์ไว้ แล้ว ยื่น ภงด.3 ค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 21-10-2011 15:43:24 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ถ้าบริษัทจดทะเบียนในรูปแบบร้านค้า จ้างพนักงาน มีค่าคอมมิชชั่น ค่าเซอร์วิสชาร์ต บริษัทต้องนำมารวมกันเงินเดือนเพื่อยื่นภาษี ภงด 1 ด้วยหรือเปล่าคะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 15-10-2011 11:16:46 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ค่าที่ปรึกษาดังกล่าวที่ได้ถามไปต้องคำนวณภาษีแบบอัตราก้าวหน้าหรือต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้สามเปอร์เซ็นค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 15-10-2011 02:01:46 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

รางวัล 23,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มใช่มั้ยค่ะ) คือ มูลค่าของรางวัล 21,495.33 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,504.67 บาท รวมของรางวันที่ได้ 23,000 บาท หัก ณ ที่จ่าย 5% เท่ากับ (1,074.77) บาท คงเหลือเงินที่จะได้รับ 21,925.33 บาท
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 15-10-2011 01:50:31 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

1.รายได้ค่าที่ปรึกษา ถือเป็นเงินได้เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ (แตกต่างจาก เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 นะค่ะ เพราะของคุณไม่มีใบประกอบวิชาชีพ) ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ ซึ่งคำนึงถึงอายุ 2.ถ้านิติบุคคลจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาให้เรา นิติบุคคล จะต้องหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง 3.เมื่อสิ้นปี เราจะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 4.การจะได้ภาษีคืน หรือไม่ มากน้อยแค่ใหน ขึ้นอยู่กับเรามี ลดหย่อน อะไรบ้าง เช่น บุตรที่ยังเรียนอยู่ ภรรยาไม่มีเงินได้ บ้านที่ต้องผ่อน ประกันชีวิต และอื่นๆ ถ้ามีค่าใช้พวกนี้มากก็ทำให้เสียภาษีน้อย หรือได้คืนภาษีมากค่ะ 5.ถ้านิติบุคคลไม่หัก ณ ที่จ่าย เราไว้ มีความผิดทั้งคู่ค่ะ ทั้งผู้จ่ายและผู้รับ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 14-10-2011 19:57:56 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

กรณีมีรายได้ค่าที่ปรึกษาอย่างเดียวโดยไม่มีเงินได้ประเภทอื่นและไม่ได้มีใบประกอบวิชาชีพใด ๆ รวมทั้งมีอายุเกินหกสิบห้าปีจะต้องหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ และเมื่อนำไปคำนวณ ภงด 90 แล้วได้คืนภาษีเต็มจำนวนที่หัก ณ ที่จ่ายไว้ กรณี่เช่นนี้ไม่หัก ณ ที่จ่ายไว้ได้หรือไม่ค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 05-10-2011 10:19:17 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

สมมุติ เราได้รับของรางวัลนะครับ ราคา 23,000 แล้ว หัก ณที่จ่าย 5 เปอร์เซ็นต์ แล้ว หักภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก 7 เปอร์เซ็นต์ คิดอย่างไร ครับ ด่วนๆๆ ขอบคุณครับ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 30-09-2011 12:52:11 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ถ้าเรา จดทะเบียนบริษัท และทำเกี่ยวกับที่ปรึกษา และดำเนินการการจัดการในการเป็นตัวกลางทางเงิน เราจะเรียกเก็บค่าการให้บริการ หรือค่านายหน้า ในการจัดการเรื่องต่างๆค่ะ และเก็บเงินผู้ใบริการได้ กี่เปอร์เซ็นต์ และเวลายื่นภาษี จะต้องเป็นลักษณะไหนค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 27-09-2011 15:22:42 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

1.บจก.ที่เราทำงานอยู่มีการจ้างรถตู้เพื่อใช้งานเป็นประจำ แต่ละงานก็ 3-4 วัน ผู้รับจ้างเป็นคนจัดหาคนขับเอง ค่าน้ำมันมีการเบิกจ่ายทีหลังพร้อมกับค่ารถ อยากทราบว่าจะคิดเป็นค่าบริการ (3%) หรือค่าขนส่ง (1%)หรือค่าเช่า (5%) 2.ค่าขนส่งประเภทใดที่เข้าเกณฑ์ หัก ณ ที่จ่ายได้ 1%
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 23-09-2011 22:44:03 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

อายุไม่ถึง 20 ปี ก็สามารถมีรายได้ได้ ค่ะ การที่สรรพากรจะตรวจสอบเรื่องภาษี ไม่ได้ไปเกี่ยวกับเรื่องอายุเลยค่ะ สิ่งสำคัญคือ การโดนบริษัท หัก ณ ที่จ่าย สรรพาจะทราบได้ทันทีว่า บุคคลนั้นมีรายได้เพราะบริษัทเมื่อเขาหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปเขาจะ ไปรายงานต่อสรรพากรทันที โดยการยื่นแบบ ภงด.3

เพราะฉนั้นตอนสิ้นปี บุคคลที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายคนนั้นก็จะต้องยื่นได้เข้าไป เพื่อนให้สอดคล้องกัน  คือ บริษัทรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย (โดยการยื่นภงด.3 )บุคคลรับรู้เป็นรายได้(โดยการยื่น ภงด.90 ตอนสิ้น ถ้าสรรพากรตรวจสอบข้อมูลถูกต้องตรงกันก็จบ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 23-09-2011 09:58:35 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

บุคคลธรรมดา ได้รับเป็นที่ปรึกษา เมื่อโดนหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจากทางบริษัทแล้ว จะโดยสรรพากรเรียกตรวจสอบอะไรอีกหรือไม่ จำเป็นหรือไม่ที่บุคคลธรรมดาท่านนั้นต้องจำกัดอายุในการรับเป็นที่ปรึกษาหรือไม่
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 22-09-2011 10:45:16 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

กรณีนี้ต้องดูว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นผิดปกติอยู่ในช่วงเดือนใด เป็นเดือนหลังจากยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 แล้วหรือไม่ และเกิดจากแผนงานของกิจการที่วางเอาไว้แล้ว เช่น มีการโฆษณา มีโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย และอื่น ๆ ที่จะส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้นเกินกว่าปกติหรือไม่ ถ้ามีเหตุผลเจ้าพนักงานก็จะพิจารณาเป็นเหตุอันควรได้ และการพิจารณาประมาณการที่ยื่นไว้ขาดไป ใช้ยอดประมาณการเป็นตัวเปรียบเทียบกับผลประกอบการจริงในการเปรียบเทียบ สรุปว่าประมาณการขาดเกิน 25% หรือไม่ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของช่วง 6 เดือนแรกใช้เป็นเครดิตภาษี
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:สมัครงาน.. 16-09-2011 22:24:46 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : สมัครงาน

รับสมัครค่ะ มากรอกใบสมัครและสัมภาษณ์งานได้ตามที่อยู่บริษัทได้เลยนะค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 14-09-2011 16:04:00 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ประมาณการเสียภาษีภงด.51 โดยมีภาษีที่คำนวนได้ 900,000.- แต่6เดือนแรกมีภาษีที่ถูกหักณที่จ่าย 1,200,000.จึงไม่ได้ชำระภาษีครึ่งปี(ยื่นแบบภงด.51) บังเอิญุ 6 เดือนหลังยอดขายเพิ่มผิดปกติ ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น กำไรที่ประมาณการไว้ในแบบภงด.51จึงขาดไปเกิน 25% สรรพกรแจ้งว่าต้องเสียค่าปรับ 20% บริษัทไม่สามารถนำภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายใน 6 เดือนแรกมาเครดิตภาษีที่คำนวนได้(ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่ชำระปีที่แล้ว)จะต้องชำระภาษีจำนงน 900,000บาท จึงจะถือเป็นเหตูอันควรที่จะงดเว้นค่าปรับ ช่วยวินิจฉัยด้วยครับว่าเจ้าหน้าที่สรรพกรเขตกับบริษัทใครถูกกันแน่ครับ?
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :สมัครงาน.. 10-09-2011 16:28:47 
pp

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : สมัครงาน

ที่บริษัทมีเปิดรับสมัครตำแหน่งงานด้านกฎหมายบ้างหรือเปล่าครับ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 03-09-2011 23:33:30 
su

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ขอแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับการ หัก ณ ทีจ่ายค่านายหน้าดังต่อไปนี้นะค่ะ

  • ·ค่านายหน้า หรือค่าคอมมิชชั่น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)
  • ·หากผู้รับค่านายหน้าเป็น บุคคลธรรมดา, คณะบุคคล, ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) โดยจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราก้าวหน้า (เหมือนจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน)
  • ·หากผู้รับค่านายหน้าเป็น นิติบุคคล ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส หรือคำสั่งกรมสรรพกรที่ ท.ป. 4/2528 โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3 %
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 03-09-2011 23:20:25 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ถ้าเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วัน หลักเกณฑ์การคำนวณหักภาษี จะใช้เหมือนคนไทย เช่น เงินได้40(1)และ(2)เงินเดือน ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น โดยจะเป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตการทำงาน(Work Permit)ในประเทศ และมีเลขที่ผู้เสียภาษีเป็นของตนเอง +++คำนวณเหมือนกับหัก ณ ที่จ่าย ให้กับพนักงานคนไทย+++ มีการหักค่าใช้จ่าย หักลดหย่อน ฯลฯ แล้วนำมาไต่บันไดภาษี ….. ส่วนเงินได้วงเล็บอื่นก็หักกันไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ++++แต่ดิฉันคาดว่ากรณีนี้ ชาวต่างชาติไม่ได้เข้ามาอยุ่ในประเทศไทยเลยใช่มั้ยค่ะ เพียงแค่มีเงินได้จากจากประเทศไทย++++ หากเป็นเช่นนั้นการจ่ายเงินให้กับผู้รับที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ไม่ถึง 180 สำหรับเงินได้ประเภท 40 (2) (3) (4) (5) และ(6) ท่านจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 หมายเหตุอีกนิดนะค่ะ ตามกฎหมายภายใน (ป.รัษฎากร) ชาวต่างชาติอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ให้พิจารณาด้วยว่าเขาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มี DTA กับไทยหรือไม่ ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นภาษี
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย.. 03-09-2011 22:59:49 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย

คุณเจริญ คำถามของคุณเรื่องค่าเบี้ยประชุมนี้เป็นปัญหาถกเถียงกันมานานแล้ว ค่าเบี้ยประชุมกรรมการบริษัทน่าจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ 1. บริษัทจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งเป็นพนักงานประจำของบริษัท เงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับเงินเดือน กรณีบริษัทจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ และหรือค่าตอบแทนคณะกรรมการ ให้บริษัทนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินเดือนและมีหน้าที่หักเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเสมือนหนึ่งว่า ได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้นตามอัตราก้าวหน้า 10 – 37% สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรกในปีภาษีนั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนั้นหากเงินได้พึงประเมินสุทธิไม่ถึง 150,000 บาท ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน 2. บริษัทจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งไม่ได้เป็นพนักงานประจำของบริษัท ค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวซึ่งบริษัทจ่ายเป็นประจำแก่บุคคลภายนอกเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้บริษัทนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณและมีหน้าที่หักเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน โดยให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้นตามอัตราก้าวหน้า 10 – 37% สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรกในปีภาษีนั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนั้นหากเงินได้พึงประเมินสุทธิไม่ถึง 150,000 บาท ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน สรุปว่าน่าจะคิดเหมือนกันทั้งสองวิธีคือใช้อัตราก้าวหน้า เพราะเงินได้ดังกล่าวเข้ามาตรา 40 (1) และ 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากการศึกษาเพิ่มเติม ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองอ่านดูนะค่ะ โดยที่มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้เบี้ยประชุมกรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบที่ทางราชการ หรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540) ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.) โดยมีหน่วยงานธุรการของแต่ละองค์กร ซึ่งมีทั้งกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นส่วนราชการ และไม่เป็นส่วนราชการ นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาของทางราชการในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการ ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง อีกทั้งยังมีองค์กรใหม่ๆ เกิดขึ้น อีกหลายองค์กร อาทิ องค์การมหาชน องค์กรในกำกับของรัฐ เป็นต้น กรณีจึงมีปัญหาว่า หากบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้จากค่าเบี้ยประชุม กรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบที่หน่วยงานหรือองค์กรดังกล่าวจ่ายให้แล้ว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(7) แห่งประมวล-รัษฎากร หรือไม่ อย่างไร หลักเกณฑ์พิจารณา มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้เบี้ยประชุมกรรมาธิการ หรือกรรมการ หรือค่าสอน หรือค่าสอบ ที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ "การยกเว้นตามมาตรานี้ ต้องเป็นเงินได้ที่จ่ายโดยทางราชการ ซึ่งหมายถึง หน่วยงานของรัฐที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือเป็นสถานศึกษาของทางราชการ ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน ฯลฯ ที่เป็นของทางราชการ3 แต่ถ้าเป็นเบี้ยประชุม ค่าสอน ค่าสอบที่ภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่ไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน เป็นผู้จ่าย จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้" หลักเกณฑ์พิจารณาจึงแบ่งออกเป็น 2 กรณีได้แก่ กรณีเบี้ยประชุม และกรณีค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการจ่ายให้ กรณีเบี้ยประชุม เบี้ยประชุมคือเงินตอบแทนสำหรับการเข้าประชุมในฐานะกรรมการหรือตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งจะจ่ายเป็นครั้งคราวตามที่มีการประชุม กรณีค่าตอบแทนหรือค่าเบี้ยประชุม ที่กรรมการได้รับประจำเป็นรายเดือน ถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร4 ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าเบี้ยประชุมที่รัฐวิสาหกิจจ่ายให้แก่คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร5 ค่าเบี้ยประชุมซึ่งจ่ายเป็นรายครั้งที่มีการประชุมและเข้าประชุม จะถือเป็นเบี้ยประชุมกรรมการที่ทางราชการจ่ายให้ซึ่งได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ ในเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาว่า ผู้จ่ายมีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่ แล้วจึงค่อยพิจารณาว่าเข้าลักษณะเป็นค่าเบี้ยประชุมหรือค่าสอน ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้หรือไม่ โดยขอให้ศึกษากรณีศึกษาดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ตัวอย่าง (1) เรื่อง กรณีจ่ายเงินสมนาคุณคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประเด็นปัญหา6 : คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติได้อนุมัติให้จ่ายเงินสมนาคุณให้แก่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นรายเดือน แทนการจ่ายเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 การจ่ายเงินสมนาคุณ ให้จ่ายเฉพาะเดือนที่เข้าประชุม เดือนใดที่ไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่เข้าประชุมให้งดจ่ายโดยให้ประธานกรรมการได้รับเงินเดือนละ 10,000 บาท และกรรมการได้รับเงินเดือนละ 8,000 บาท จึงหารือว่าในการเบิกจ่ายเงินค่าสมนาคุณกรรมการแทนการจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการผู้มีเงินได้ดังกล่าวยังมีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และสำนักงาน ก.พ. จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่ (ติดตามเนื้อหาเต็มได้ในวารสารสรรพากรสาส์นประจำเดือน พฤศจิกายน 2552)
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย.. 27-08-2011 18:13:15 
เจริญ

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : เงินได้ที่ยกเว้นภาษีPIT ของตย.การบินไทย

ตัวอย่าง.ครับ นายA เป็นสมาชิกบอร์ดการบินไทย ไปประชุมบอร์ดการบินไทยนายAได้เบี้ยประชุม จำนวน 10000 บาทต้องเสียเงินได้บุคคลธรมดาหรือไม่ครับเพราะอะไร

 

 

 

ขอบคุณครับ

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 25-08-2011 11:25:33 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

บริษัท ทำสัญญาว่าจ้าง คนต่างชาติเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท แต่ตัวเขาอยู่ต่างประเทศ ทำสัญญาจะจ่ายเงินทุก 6 เดือน ๆละ 30,000 บาท โดนการโอนเงินไปต่างประเทศ และทำสัญญาย้อนหลังเป็น วันที่ 1 เมย.54 บริษัทต้องหัก ณที่จ่ายเขาเท่าไหร่ และจะโดนสรรพการตรวจสอบไหม คะ เราต้องหัก เขา 15% ใช่หรือไม่ แต่นายบอกว่า หัก 0% ช่วยตอบด่วนนะคะ ขอบคุณค่ะ
IP Logged
หน้า #  << เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 ถัดไป > สุดท้าย >>


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF